สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เริ่มจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (Thailand Research Expo) ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพในเวทีระดับชาติของหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ และได้กำหนดให้มีการจัดงาน“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ” (Thailand Research Expo) ในภาพรวมขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี
ทั้งนี้ “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค” (Regional Research Expo) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2556 และในปี 2564 กำหนดจัดขึ้นในภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเจ้าภาพ ภายใต้แนวคิด “การวิจัยและนวัตกรรมภาคใต้ สู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ในยุควิถีใหม่” เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาชุมชนโดยใช้การวิจัยเชิงพื้นที่และสร้างเศรษฐกิจภูมิภาคท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID –19) ให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องไปสู่อนาคตต่อไป
เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ในการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ซึ่งเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และเป็นครั้งแรกของโลก วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีจึงถูกกำหนดให้เป็น “วันนักประดิษฐ์”
เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ไทยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม วช. จึงได้จัดกิจกรรมงาน “วันนักประดิษฐ์” ส่วนภูมิภาค ขึ้น โดยร่วมกับหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ นำเสนอผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ นำไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพึ่งพาตนเอง โดยในปี 2564 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
งานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อตอบโจทย์โรคอุบัติใหม่
Food, Agriculture & Bio-tech
(อาหาร/เกษตร/เทคโนโลยีชีวภาพ)
Health, Medical and Public Health
(สุขภาพ/การแพทย์และสาธารณสุข)
Art, Science and Technology
(ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
โดย รศ.ดร.กิตติศักดิ์ อริยะเครือ และคณะ
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
รักษาการผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
รองผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้จัดการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายกสมาคมพืชกระท่อมแห่งประเทศไทย
หัวหน้าโครงการสงฆ์ไทยไกลโรคและโครงการโภชนาการสามเณรสมวัย
รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการและรับใช้สังคมและยุทธศาสตร์บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
นักวิชาการอิสระ
ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนยุทธศาสตร์องค์กร ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย
นักวิชาการอาวุโส, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
หัวข้อบรรยาย
เวทีสำหรับนักวิจัยทั่วประเทศเพื่อเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบของบทความวิจัยและบทความวิชาการในภาคบรรยายแบบออนไลน์ (Online Oral Presentation)
ใน 3 ด้าน ดังนี้
ต้มโคล้งปลาเม็ง
แกงส้มกบ
ทอดมันปูม้า
โจ๊กกิ่งสำเร็จรูป
ข้าวแผ่นอบกรอบ
ข้าวกล้องผงพร้อมดื่ม
กล้วยฉาบทอดกรอบ
เครื่องสำอางสาหร่ายข้อ
ไข่เค็มสมุนไพรเหงือกปลาหมอ ด่านสวี
ปลาทูหยอง
ถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว
ไข่เค็ม ด่านสวี
เชื้อราทุเรียนคลองแสง
พุดดิ้งกะทิ
โยเกิร์ตกะทิ
เครื่องอัดขึ้นรูปกระถางจากใยมะพร้าว
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชุมชนท้องถิ่นตำบลขุนทะเล